top of page
  • Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย

Updated: Feb 20, 2021

ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจด VAT ที่มีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) - 40(8) มีหน้าที่จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย


รายงานเงินสดรับ-จ่าย เป็นรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจำวัน ทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงผลการดำเนินงาน รวมถึงใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินและการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย

1. ต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศ ซึ่งผู้ประกอบการ

สามารถเพิ่มช่องรายการได้ตามความเหมาะสมของกิจการ

2. ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ

3. ต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย

4. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย

  • ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ฯลฯ

  • สามารถลงเป็นยอดรวมของแต่ละวันทำการ หรือลงรายละเอียดของแต่ละรายการตามที่เกิดขึ้นได้

  • ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ

  • ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นสามารถลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน

  • หากมีการซื้อขายเป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการในวันที่ได้รับชำระหรือจ่ายชำระ โดยระบุเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ

5. สรุปยอดเป็นรายเดือนเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการสามารถนำรายรับจาก "รายงานเงินสดรับ–จ่าย" มาแสดงเป็นยอดเงินได้พึงประเมินจากการประกอบกิจการ และสามารถนำรายจ่ายตาม "รายงานเงินสดรับ–จ่าย" มาหักเป็นค่าใช้จ่ายจริงได้


อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร

Comments


bottom of page