top of page
  • Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

ค่าลดหย่อนบุตร

Updated: Feb 20, 2021

การมีลูกช่วยให้ประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อย่างไร และจะประหยัดมากขึ้นหากมีความเข้าใจมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร


มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร

ช่วยให้ผู้มีเงินได้ประหยัดภาษีเพิ่มขึ้น ดังนี้

  • ปรับเพิ่มค่าลดหย่อนของบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป (เกิดตั้งแต่ ปี 2561 เป็นต้นไป) อีกคนละ 30,000 บาท

  • ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ลดหย่อนภาษี 60,000 บาท

เงื่อนไขค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรลดหย่อนภาษี

  1. ค่าใช้จ่ายต้องเป็น "ค่าฝากครรภ์" และ "ค่าคลอดบุตร"

  2. ตั้งครรภ์และคลอดบุตรคนละปีภาษีหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท

  3. ตั้งครรภ์และคลอดบุตรหลายครั้งในปีภาษีเดียวกัน ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละครั้งๆ ละไม่เกิน 60,000 บาท

  4. เอกสารเพื่อขอใช้สิทธิ ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

เงื่อนไขค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป

  1. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

  2. เป็นบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไปและเกิดในหรือหลังปี พ.ศ.2561

  3. หักลดหย่อนเพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท

  4. การนับลำดับบุตร นับลำดับของบุตรทุกคนไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม


หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตร

  • บุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อนได้แก่ บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้หรือของคู่สมรส และบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

(1) เป็นผู้เยาว์ อายุไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส หรือ

(2) มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ ชั้นอุดมศึกษา (ระดับอนุปริญญาขึ้นไป) รวมถึงการศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิต หรือ

(3) บุตรที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ และ

(4) ไม่มีเงินได้พึงประเมิน ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่หักลดหย่อนถึง 30,000 บาท และต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้

  • จำนวนบุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อน

กรณีผู้มีเงินได้มีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก เว้นแต่

กรณีผู้มีเงินได้มีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้

แต่ถ้าบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้ โดยเมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน

  • กรณีบุตรบุญธรรม

ต้องได้รับการจดทะเบียนรับรองเป็นบุตรบุญธรรม โดยผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน โดยเริ่มหักได้ตั้งแต่ปีภาษีที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ส่วนบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเดิมของบุตรคนนั้น ไม่สามารถหักลดหย่อนได้อีก


อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร

Comments


bottom of page