top of page
  • Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

เงินได้ขั้นต่ำเท่าไร ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Updated: Feb 20, 2021

ผู้มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีหลายคนยังสงสัยว่า เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วแต่เงินได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องชำระภาษี จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่


บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี เมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด


เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี มีดังนี้

กรณีโสด

  • บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เพียงอย่างเดียว มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

  • บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ประเภทอื่น มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท

กรณีสมรส

  • บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เพียงอย่างเดียว มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท

  • บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ประเภทอื่น มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

ดังนั้นผู้มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปี อย่าลืมตรวจเช็คกันว่า รายได้พึงประเมินที่ได้รับเป็นรายได้ประเภทใด และจำนวนเงินที่ได้รับถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดแล้วหรือไม่ เพื่อที่จะยื่นแบบและนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้องและภายในเวลาที่กำหนด

อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร

bottom of page