เตรียมพร้อมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563 ผู้มีเงินได้อย่าลืมวางแผนภาษีและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีประจำปี
รายการค่าลดหย่อนภาษี ปี 2563 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 ส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัวสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรสสำหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท (สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปและเกิดตั้งแต่ปี 2561 หักลดหย่อนเพิ่มได้อีกคนละ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท)
ค่าลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนพ่อแม่ อายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
ลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
กลุ่มที่ 2 ประกันและการลงทุน
ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 5,850 บาท (ลดลงตามมาตราการช่วยเหลือ COVID-19)
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (รวมข้อ 2 - 3 ต้องไม่เกิน 100,000 บาท)
เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท (รวมข้อ 5 - 9 ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท (ระยะเวลาซื้อระหว่าง 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563)
กลุ่มที่ 3 กระตุ้นเศรษฐกิจ
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต (ธุรกิจที่มีเครื่อง EDC) ตามจำนวนที่จ่ายจริง
โครงการบ้านหลังแรก ปี 59 ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
ช้อปดีมีคืน ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท (23 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2563)
กลุ่มที่ 4 เงินบริจาค
เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา สังคมและโรงพยาบาลของรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาคแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
เงินบริจาคอื่นๆ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
เงินบริจาคพรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร
Comments