top of page
  • Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

การจัดตั้งธุรกิจ SMEs

Updated: Jul 8, 2021

3 Steps เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เริ่มต้นประกอบธุรกิจ


Step 1 เลือกรูปแบบธุรกิจ


การเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ เราควรเข้าใจรูปแบบของธุรกิจกันก่อน เพื่อเลือกให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเปิดกิจการและการวางแผนเติบโตในอนาคต โดยรายละเอียดมีดังนี้


1. กิจการเจ้าของคนเดียว

เจ้าของเป็นผู้ลงทุนและบริหารงาน มีความคล่องตัวในการตัดสินใจ จัดตั้งง่าย แต่หาแหล่งเงินทุนค่อนข้างยาก มีความน่าเชื่อถือน้อยและรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด

รูปแบบภาษี: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

ผู้เริ่มก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป บริหารงานร่วมกัน ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงหุ้นด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน การจัดหาเงินทุนทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และหุ้นส่วนทุกคนยังคงรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างอย่างไม่จำกัด

รูปแบบภาษี: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเมื่อห้างแบ่งผลกำไรให้หุ้นส่วน หุ้นส่วนต้องนำไปเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีกด้วย


3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ผู้เริ่มก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป จัดตั้งเป็นนิติบุคคล บริหารงานโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบต่อหนี้สินของห้างอย่างไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่ทำบัญชี ส่งงบการเงินและเก็บรักษาบัญชี

รูปแบบภาษี: ภาษีเงินได้นิติบุคคล


4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ผู้เริ่มก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป จัดตั้งเป็นนิติบุคคล บริหารงานโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่

- ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ คือรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ตกลงจะนำมา แต่ไม่มีอำนาจจัดการ

- ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ คือรับผิดชอบหนี้สินห้างอย่างไม่จำกัด และมีสิทธิเป็นผู้จัดการ

ห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่ทำบัญชี ส่งงบการเงินและเก็บรักษาบัญชี

รูปแบบภาษี: ภาษีเงินได้นิติบุคคล


5. บริษัทจำกัด

ผู้ร่วมก่อการ 3 คนขึ้นไป จัดตั้งเป็นนิติบุคคล มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถหาแหล่งเงินทุนได้ง่าย และผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการอย่างจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนที่ตนยังชำระไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น

บริษัทมีหน้าที่ทำบัญชี ส่งงบการเงิน ทำสมุดทะเบียนหุ้น จัดให้มีการประชุมสามัญและวิสามัญผู้ถือหุ้น

รูปแบบภาษี: ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

Step 2 ขออนุญาตประกอบธุรกิจและจดทะเบียน


เมื่อเราเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมแล้ว เราก็ต้องทำความเข้าใจการขออนุญาตประกอบกิจการและการจดทะเบียน เพื่อประเมินว่าธุรกิจของเราจำเป็นต้องจดทะเบียนในเรื่องใดบ้าง


1. การจดทะเบียนพาณิชย์

  • ใครบ้างที่ต้องจด?

บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท ที่ประกอบธุรกิจขายสินค้าตามที่กำหนดโดยกระทรวงพาณิชย์ โดยต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ

  • ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์?

เพื่อเป็นหลักฐานการค้า, ใช้เป็นเอกสารประกอบการขอสินเชื่อ และเพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้ลูกค้ามั่นใจในการรับสินค้าหรือบริการ


2. การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • ใครบ้างที่ต้องจด?

บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท

ที่ทำธุรกิจออนไลน์ เช่น การขายสินค้าออนไลน์ ทางเว็บไซต์ หรือสื่อออนไลน์, บริการอินเทอร์เน็ต, ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย, ให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

  • ขอรับเครื่องหมาย DBD Registered?

เมื่อจดทะเบียนแล้วสามารถขอรับเครื่องหมายเพื่อนำไปติดบนเว็บไซต์ และช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น


3. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ใครบ้างที่ต้องจด?

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล


4. การจดทะเบียนบริษัท

  • ใครบ้างที่ต้องจด?

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด

 

Step 3 ทำความเข้าใจภาษีและประกันสังคม


1. ภาษี

ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องภาษีในแต่ละรูปแบบดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

  • อากรแสตมป์

  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

  • ภาษีป้าย

2. ประกันสังคม

นายจ้างต้องติดต่อขึ้นทะเบียนลูกจ้าง/ผู้ประกันตน ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มจ้างงาน

จัดตั้งบริษัท
จัดตั้งบริษัท

#เริ่มต้นจัดตั้งกิจการ #SMEs #รูปแบบธุรกิจ #การจดทะเบียนจัดตั้ง #ภาษีเบื้องต้นที่ควรรู้

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


bottom of page