สิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเมื่อจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
ผู้ประกอบการควรดำเนินการ ดังนี้
1. เปิดบัญชีธนาคารสำหรับบริษัท
บริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลแยกจากผู้ประกอบการ ดังนั้นควรมีบัญชีแยกชัดเจนไม่ใช้ปนกับบัญชีส่วนตัว
และผู้ประกอบการควรดำเนินการเปิดบัญชีโดยเร็ว เนื่องจากบางธนาคารกำหนดให้ยื่นหนังสือรับรองที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสาร
ตัวอย่างเอกสารประกอบเบื้องต้นสำหรับการเปิดบัญชีธนาคาร เช่น
หนังสือรับรอง โดยมีรายละเอียดวัตถุที่ประสงค์แนบท้ายอายุไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ออกเอกสาร
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ. 3)
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
รายงานการประชุม
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทได้ตามหนังสือรับรอง
อื่นๆ
ทั้งนี้ เงื่อนไขของแต่ละธนาคารอาจมีความแตกต่างกัน ดังนั้นควรติดต่อทางธนาคารที่บริษัทต้องการเปิดบัญชีเพื่อสอบถามเงื่อนไขและเอกสารที่ต้องเตรียมให้ชัดเจน
2. ขอ Username และ Password ดังนี้
2.1 ขอรหัสสำหรับนำส่งงบการเงิน (DBD e-Filing) กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สำหรับการยื่นงบการเงินและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้นต้องทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) เพียงช่องทางเดียว สามารถศึกษาวิธีขอรับรหัสผ่านได้ที่:
2.2 ขอรหัสสำหรับยื่นแบบและนำส่งภาษีกับกรมสรรพากร
สำหรับการยื่นแบบนำส่งภาษีรายเดือนและรายปี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เอกสารที่ใช้ในการขอรับรหัส ดังนี้
แบบ ภ.อ.01
ข้อตกลงในการยื่นแบบแสดงรายการ
สำเนาหนังสือรับรอง อายุไม่เกิน 6 เดือน
กรณีมอบอำนาจ มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
ทั้งนี้บริษัทสามารถยื่นแบบคำขอผ่านทาง Internet ได้ โดยศึกษาเพิ่มเติมที่:
2.3 ขอรหัสทำธุรกรรมผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของประกันสังคม
สำหรับการนำส่งข้อมูลเงินสมทบ ตรวจสอบสถานะการทำธุรกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์
ศึกษาเพิ่มเติมที่: https://www.sso.go.th/eservices/web/UserManual.pdf
3. จัดเก็บเอกสาร
เมื่อกิจการดำเนินงานในรูปแบบนิติบุคคลแล้ว ผู้ประกอบการต้องเก็บเอกสาร เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น เนื่องจากไม่สามารถลงค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้แบบกรณีบุคคลธรรมดา ดังนั้นทุกรายการต้องมีเอกสารประกอบที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงสัญญาต่างๆ ควรเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนเช่นกัน
.
.
3 เรื่องข้างต้นเป็นสิ่งที่บริษัทควรดำเนินการเพื่อประโยชน์ของกิจการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรเข้าใจหลักการบัญชีและภาษีเบื้องต้นด้วยเพื่อการดำเนินงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
.
.
.
อ้างอิง: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมสรรพากร, สำนักงานประกันสังคม
Comments