top of page
  • Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ

Updated: Feb 20, 2021

ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจว่ากิจการใดที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้และต้องเสียในอัตราเท่าใด


กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีดังนี้

  1. กิจการธนาคาร

  2. ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

  3. กิจการรับประกันชีวิต

  4. กิจการรับจำนำ

  5. การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ

  6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของนิติบุคคล

  7. การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์

  8. การประกอบกิจการอื่น ตามกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ

  • คำนวณจากฐานภาษี ได้แก่ รายรับตามฐานภาษีของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษี และต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก 10% ของจำนวนภาษีธุรกิจเฉพาะดังกล่าว

  • รายรับตามฐานภาษี เช่น รายรับก่อนหักรายจ่าย ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ส่วนลด ค่าบริการ ฯลฯ

อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.01 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ


อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร

bottom of page